เมนู

ถ้ากรอบประตูและหน้าต่างนั้น ที่ภิกษุติดตั้งไว้ ตั้งอยู่ติดต่อกัน
กับด้วยการฉาบที่ให้ไว้แต่แรกทีเดียว, เป็นสังฆาทิเสสตั้งแต่แรกเหมือน
กัน. เพื่อป้องกันปลวก จะฉาบฝาผนัง ไม่ให้ถึงหลังคาประมาณ 8 นิ้ว
ไม่เป็นอาบัติ. เพื่อป้องกันปลวกเหมือนกัน จะทำฝาผนังหินภายใต้ ไม่
ฉาบฝานั้น ฉาบในเบื้องบน, การฉาบชื่อว่ายังไม่เชื่อมต่อกัน, ไม่เป็น
อาบัติเหมือนกัน.
ภิกษุทำหน้าต่างและปล่องไฟด้วยอิฐล้วน ในกุฎีฝาผนังอิฐ เป็น
อาบัติโดยเชื่อมด้วยการฉาบทีเดียว. ภิกษุฉาบบรรณศาลา, เป็นอาบัติ
โดยเชื่อมด้วยการฉาบเหมือนกัน, เพื่อต้องการแสงสว่างในบรรณศาลานั้น
จึงฉาบเว้นที่ไว้ประมาณ 8 นิ้ว, การฉาบชื่อว่ายังไม่เชื่อมต่อกัน, ยังไม่
เป็นอาบัติเหมือนกัน.
ถ้าภิกษุทำในใจว่า เราได้หน้าต่างแล้ว จักตั้งตรงนี้ แล้วจึงทำ,
เมื่อติดตั้งหน้าต่างเสร็จแล้ว เป็นอาบัติโดยเชื่อมด้วยการฉาบ. ถ้าภิกษุ
ทำฝาผนังด้วยดินเหนียว, เป็นอาบัติในเพราะการเชื่อมกันกับด้วยการฉาบ
หลังคา. รูปหนึ่งพักให้เหลือไว้ก้อนหนึ่ง. อีกรูปอื่นเห็นหนึ่งก้อนที่ไม่ได้
ฉาบนั้น ทำในใจว่า นี้เป็นทุกกฏ จึงฉาบเสียด้วยมุ่งวัตร ไม่เป็นอาบัติ
ทั้งสองรูป.

[แก้อรรถนี้บทภาชนีย์ว่าด้วยจตุกกะทำให้เป็นอาบัติต่าง ๆ]


36 จตุกกะมีอาทิอย่างนี้ว่า ภิกขุ กุฏี กโรติ พระผู้มีพระภาคเจ้า
ตรัสไว้ เพื่อทรงแสดงชนิดแห่งอาบัติ. ใน 36 จตุกกะนั้น พึงทราบ
อาบัติที่คละกันด้วยอำนาจแห่งทุกกฏและสังฆาทิเสสเหล่านี้ คือทุกกฏ

เพราะมีผู้จองไว้, ทุกกฏ เพราะไม่มีชานรอบ, สังฆาทิเสส เพราะทำ
ล่วงประมาณ, สังฆาทิเสส เพราะสงฆ์ไม่ได้แสดงที่สร้างให้.
ก็ในคำเป็นต้นว่า อาปตฺติ ทฺวินฺนํ สงฺฆาทิเสสานํ ทฺวินฺนํ ทุกฺก-
ฏานํ
บัณฑิตพึงทราบใจความโดยนัยเป็นต้นว่า ต้องอาบัติทุกกฏ 2 ตัว
พร้อมด้วยสังฆาทิเสส 2 ตัว
ก็ในคำเป็นต้นว่า โส เจ วิปฺปกเต อาคจฺฉติ มีอรรถวินิจฉัย
ดังต่อไปนี้:-
บทว่า โส ได้แก่ ภิกษุผู้สั่งแล้วหลีกไปเสีย.
บทว่า วิปฺปกเต ได้แก่ เมื่อการสร้างกุฎียังไม่เสร็จ.
สองบทว่า อญฺญสฺส วา ทาตพฺพา มีความว่า พึงสละให้แก่บุคคล
อื่น หรือแก่สงฆ์.
สองบทว่า ภินฺทิตวา วา ปุน กาตพฺพา มีความว่า กุฎีจัดว่าเป็น
อันรื้อแล้ว ด้วยเหตุมีประมาณเท่าไร ? ถ้าเสาฝังลงที่พื้นดิน พึงถอนขึ้น.
ถ้าตั้งไว้บนหิน พึงนำออกเสีย. พึงรื้อผนังแห่งกุฎีที่ก่ออิฐออกเสีย จน
ถึงอิฐมงคล (ศิลาฤกษ์). โดยสังเขป กุฎีที่ถูกพังลงให้เรียบเสมอพื้น
ย่อมจัดว่าเป็นอันรื้อแล้ว เหนือพื้นดินขึ้นไป เมื่อยังมีฝาผนังเหลืออยู่
แม้ประมาณ 4 นิ้ว กุฎีจัดว่ายังไม่ได้รื้อเลย คำที่เหลือในทุก ๆ จตุกกะ
ปรากฏชัดแล้วทั้งนั้น แท้จริง ในจตุกกะทั้งปวงนี้ ไม่มีคำอะไรอื่นที่จะ
พึงรู้ได้ยาก ตามแนวแห่งพระบาลีเลย.
ก็ในคำว่า อตฺตนา วิปฺปกตํ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ที่ชื่อว่า
ยังกุฎีที่ตนริเริ่มไว้ให้สำเร็จลงด้วยตนเอง คือ เมื่อภิกษุใส่ก้อนสุดท้าย

เข้าในกุฎีที่คนมีความประสงค์จะให้ถึงความเป็นของสร้างแล้วเสร็จด้วยดิน-
เหนียวจำนวนมาก หรือด้วยดินเหนียวผสมแกลบ ชื่อว่าให้สำเร็จลง.
สองบทว่า ปเรหิ ปริโยสาเปติ มีความว่า ใช้คนเหล่าอื่นทําให้
สำเร็จ เพื่อประโยชน์แก่ตน
ในคำนี้ พึงทราบวินิจฉัยดังนี้ว่า ก็กุฎีอันตนเอง หรืออันคน
เหล่าอื่น หรือว่าทั้งสองฝ่าย ทำค้างไว้ก็ตามที, ก็แล ภิกษุยังกุฎีนั้นให้
สำเร็จด้วยตนเองก็ดี ใช้ให้คนอื่นทำให้สำเร็จก็ดี ใช้คนที่รวมเป็นคู่ คือ
ตนเองและคนเหล่าอื่นสร้างให้สำเร็จก็ดี เพื่อประโยชน์แก่ตน เป็นสังฆา-
ทิเสสทั้งนั้น.
แต่ในกุรุนที ท่านกล่าวว่า ภิกษุ 2-3 รูป รวมกันทำกล่าวว่า
พวกเราจักอยู่, ยังรักษาอยู่ก่อน, ยังไม่เป็นอาบัติ เพราะยังไม่แจกกัน,
แจกกันว่า ที่นี่ของท่าน แล้วช่วยกันทำ, เป็นอาบัติ, สามเณรกับภิกษุ
ร่วมกันทำ, ยังรักษาอยู่ตลอดเวลาที่ยังไม่ได้แบ่งกัน, แจกกันโดยนัยก่อน
แล้วช่วยกันทำ เป็นอาบัติแก่ภิกษุ ดังนี้.

[อนาปัตติวารวรรณนา]


ในคำว่า อนาปตฺติ เลเณ เป็นต้น มีวินิจฉัยดังนี้:- ไม่เป็นอาบัติ
แก่ภิกษุผู้กระทำถ้ำแม้ให้ใหญ่ เพราะการฉาบในถ้ำนี้ไม่เชื่อมต่อกัน.
สำหรับภิกษุผู้กระทำแม้คูหา คือ คูหาก่ออิฐก็ดี คูหาศิลาก็ดี คูหาไม้ก็ดี
คูหาดินก็ดี แม้ให้ใหญ่ก็ไม่เป็นอาบัติ.
บทว่า ติณกุฎีกาโย มีความว่า ปราสาทแม้มีพื้น 7 ชั้น แต่
หลังคามุงด้วยหญ้าและใบไม้ ท่านก็เรียกว่า กุฎีหญ้า. แต่ในอรรถกถา